top of page
  • รูปภาพนักเขียนFortronMan

ทำไมแอร์เหม็น???

อัปเดตเมื่อ 18 ธ.ค. 2562


โดยปกติของสิ่งของทุกอย่างเมื่อใช้ผ่านไประยะเวลาหนึ่ง จะมีสภาพที่เก่าลงหรือมีความอับชื้นเกิดขึ้น



รถยนต์ก็เช่นกัน ระบบปรับอากาศ(Air) คือระบบที่ช่วยปรับอุณหภูมิในห้องโดยสารให้เหมาะสมและเย็นสบาย โดยเฉพาะประเทศเมืองร้อนอย่างไทยเรา ถ้ารถคันไหนแอร์เสียหรือแอร์พัง และขับออก

ถนนไป ไอร้อน ควันฝุ่น เศษหินดินทราย ไอน้ำมันต่างๆ ที่ลอยอยู่ผิวถนนจะพุ่งเข้าใส่ห้องโดยสาร บอกได้เลยว่า ไม่มีความสุขกับการขับรถแน่นอน เมื่อเป้นเช่นนั้นเราก็ต้องดูแลระบบปรับอากาศ

ของเราให้ดีเสียก่อน


เมื่อระบบปรับอากาศของเรามีกลิ่นเหม็นอับสิ่งที่ผู้ใช้รถส่วนใหญ่จะทำคือ "นำน้ำหอมติดรถมาช่วยดับกลิ่นเช่นที่มีขายอยู่ในท้องตลาด" มาติดที่หน้ากากแอร์ให้รถมีกลิ่นหอม



แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำหอมติดรถหลายยี่ห้อ มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย(Essential Oil),พิมเสน(Borneol) หรือการบูร (Camphor)


ลักษณะสำคัญของน้ำมันหอม และพิมเสน การบูร แม้จะมีประโยชน์ด้านการให้กลิ่นหอม

แต่หลังจากการระเหยหรือระเหิดกลายเป็นไอ และเข้าไปจับที่คอยล์เย็นของรถยนต์


**คอยล์เย็น (Air Coil Cooler) คือ แผงรังผึ้งชุดทำความเย็นในตัวรถ ซึ่งความเย็นของระบบปรับอากาศเกิดจาก พัดลมภายในรถ พัดให้ลมผ่านแผงนี้**



เมื่อไอเหล่านี่เข้าไปจับที่คอยล์เย็นจะเกิดเป็นเมือกและทำให้ระบบปรับอากาศยิ่ง "อับชื้น" ขึ้นอีกทั้งทำให้ "กลิ่นเหม็นอับ" มากขึ้นอีกด้วย


และความชื้นเมื่อมีมากจะทำให้เกิด "เชื้อราและแบคทีเรีย " ภายในระบบปรับอากาศ

ซึ่งเชื้อโรคตัวนี้คือ "ลีจิโอเนลลา นิโมฟิวลา(legionella pneumophila)" ตัวการที่ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ "ลีจีโอเนลโลซิส (Legionellosis)" หรือโรคภูมิแพ้ ปอดอักเสบ นั่นเอง



หากเราใช้รถไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่รู้ว่ามีเชื้อรา แบคทีเรียอยู่ในระบบปรับอากาศ และหายใจเข้าไปทุกๆ วันในที่สุดอาจส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้ ปอดอักเสบและถึงเสียชีวิตได้ในที่สุดครับ






เห็นไหมครับว่า การละเลยการดูแลส่งให้เกิดผลเสียขนาดไหน

แล้วทีนี้เราจะดูแล ระบบปรับอากาศของเราอย่างไร ไม่ให้อับชื้นจนเป็นที่บ่มเพาะของเชื้อโรค สามารถทำได้ตามนี้เลยครับ


1.ทำความสะอาดระบบปรับอากาศรถยนต์ทุกๆ 6 เดือน

2.ปิดแอร์ก่อนจอดรถ 3-5 นาทีจะสามารถช่วยลดอัตราการเกิดความชื้นได้

3.ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์น้ำหอมติดรถที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย พิมเสน หรือการบูร


เพียงเท่านี้ก็จะขับรถได้อย่างสบายกาย สบายใจ และใช้รถได้อย่างปลอดภัยแล้วครับ

ดู 479 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page